หางานทำที่บ้าน สานกระติบข้าว หารายได้พิเศษ/รายได้เสริม งานแฮนเมด ทำงานที่บ้าน

 หางานทำที่บ้าน สานกระติบข้าว

คนว่างงาน แม่บ้าน พ่อบ้านที่ต้องการอาชีพเสริม หางานทำที่บ้าน สานกระติบข้าว หารายได้พิเศษ/รายได้เสริม งานแฮนเมด ทำงานที่บ้าน เป็นงานง่ายๆ งานทำที่บ้าน part time สนใจหารายได้เสริมสามารถดูรายละเอียดได้ค่ะ


หางานทำที่บ้าน สานกระติบข้าว หารายได้พิเศษ/รายได้เสริม งานแฮนเมด ทำงานที่บ้าน 

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว
1. ตัดไม้ไผ่ความยาวตามที่ต้องการ ( ของแต่ละรุ่น ) ไม้ไผ่ที่ใช้คือ “ ไม้ไผ่บ้าน” ซึ่งไม้หนากว่าจะนำมาผ่าเป็นเส้นเล็ก ( สำหรับสานแผ่นข้างนอก ) และไม้ท่อนบางกว่าจะผ่าทำเส้นใหญ่ ( สำหรับสานแผ่นข้างใน ) แล้วนำไปตากแดดแยกตามขนาด

2. หลังจากเส้นตอกผ่านการตากแดดมาแห้งดีแล้ว นำเอามาสานเป็นแผ่นยาวเสร็จแล้วม้วนเข้าเป็นวงเอาไว้ ซึ่งเส้นเล็กจะสานลายลองโดยยกไปข้างหลังเรื่อย ๆ เรียกลายนี้ว่าลายนอน หรือลายเวียน

3. นำม้วนตอกที่สานไว้มาถอดออกเป็นแผ่นโดยมีไม้ขัด และถอดออกตามไม้เป็นแผ่น ๆ แล้วนำมาโค้งสานให้เข้ากันเป็นวงกลมทั้งลายตั้งและลายนอน ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกกันว่า “จอด”

4. นำม้วนตอกลายนอน (เส้นใหญ่) มาบีบเข้า แล้วนำเอาไปใส่ไว้ในม้วนตอกลายตั้ง (เส้นเล็ก) แล้วบีบเข้ากันให้แน่นไม่ให้หลุดออกจากกัน และนำวงไม้ที่เป็นเส้นขอบหรือที่เรียกว่า “กงนอก” สองเส้นมาใส่เป็นขอบสองด้าน

5. ใช้ไม้วัดระยะห่างจากขอบ ( กงนอก ) สองด้านให้เท่ากันตลอด ใช้ดินสอขีดรอบนอกขอบ แล้วใช้กรรไกรตัดตามเส้นดินสอ ( โดยตัวฝา จะทำห่วง 2 อัน สำหรับร้อยด้าย )

6. ใช้เชือกไนลอนร้อยเข็มเย็บขอบโดยใช้ไม้แบน ๆ ขนาดเท่ากันกับขอบนอกมาใส่ไว้ข้างใน เรียกว่า “กงใน” และมีไม้ใส่ขอบข้างบนเรียกว่า “ไม้น้อย”

7. ตัดไม้ไผ่ส่วนที่หนาที่สุด ( ส่วนมากจะอยู่ที่ส่วนโคนของลำไม้ไผ่ ) มาผ่าเป็นเส้นใหญ่ ๆ ประมาณ 3 นิ้ว มีขนาดใหญ่กว่าเส้นตอกที่สานเป็นตัวกระติบเล็กน้อย แต่เมื่อนำมาวางตรงตัววงกลมของตัวกระติบแล้วต้องพอดี หรือยาวกว่าช่องตัวกระติบจึงจะถือว่าใช้ได้ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

8. นำเส้นตอกมาสานเพื่อทำส่วนปิดหัว – ท้ายกระติบ เราเรียกส่วนนี้ว่า “ตู๋กระติบ” โดยสานเป็นวงกลม (ไม่เหมือนกับสานสานทำตัวกระติบ )

9. นำตัวกระติบมาวางทาบลงบนแผ่นที่สานไว้ขีดเส้นขอบวงข้างนอกและตัดตามรอยขีดนั้น แผ่นที่ปิด ส่วนฝาก็ทำเช่นเดียวกัน

10. ตัดไม้ขนาดเท่าวงเส้นรอบนอก (โดยตัดคร่อมข้อไม้ไผ่ ) มาผ่าเป้นเส้นประมาณ 1 นิ้ว เหลาเป็นสี่เหลี่ยมและเหลาข้างใน ( สีขาว ) ที่เรียกว่าท้องไม้ไผ่ออก แล้วผ่าเป็นซี่เล็ก ๆ จนหมดแผ่นโดยผ่าลงไปประมาณครึ่งฝ่ามือทั้งสองด้าน ด้านหน้าเว้าเข้าหาเข่า และใช้มือช่วยดึง ( ทำให้ด้ายเป็นเส้นเล็ก ๆ ตามที่ผ่าไว้จากปลายไม้ถึงข้อไม้ไผ่ทั้งสองข้าง ) แล้วนำไปตากแดดให้แห้งส่วนนี้เรียกว่า “ข้วนกระติบ”

11. ตัดไม้ไผ่ขนาดเท่าฝาที่ปิดตัวกระติบข้าว ( ตู๋กระติบ) แล้วทำปลายแหลมทั้งสองข้าง โดยวัดจากตัวกระติบข้าว ( อันเล็กเป็นตัวกระติบข้าวส่วนอันที่ใหญ่กว่าเป็นฝากระติบข้าว) ตัวกระติบหนึ่งอันใช้ไม้นี้ 2 อัน แล้วใช้เหล็กแหลมเจาะกลัดติดไว้เป็นรูปเครื่องหมายบวก

12. ส่วนฝานำแผ่นวงกลม ( ตู๋กระติบ ) มาใส่แล้วดันไปอีกด้านหนึ่ง ( ดันไปด้านที่มีห่วงสองอัน ) แล้วใส่ไม้ที่ฝาเป้นซี่ ๆ ( ข้วนกระติบ ) เสร็จแล้วเย็บด้วยด้ายไนลอน

13. ส่วนตัวกระติบหลังจากกลัดไม้ที่ส่วนหัวแล้วให้นำไม้ตาลแห้งมาวัดและตัดตามขนาด แล้วเย็บด้วยด้ายไนลอนให้แน่นเสร็จแล้วนำมาสวมด้านที่กลัดไว้

14. นำแผ่นกลม ๆ ที่ตัดไว้ ( ตู๋ ) มาใส่และดันไว้ด้วยไม้ฝาเป้นซี่ ๆ ( ข้วนกระติบ ) แล้วเย็บด้วยด้ายไนลอนให้แน่น เสร็จแล้วใช้เหล็กเจาะรูสองข้างที่ไม้ตาล

15. นำฝากระติบมาประกบเข้ากับตัวกระติบแล้วร้อยด้ายไนลอนตามรูและห่วง ( หูกระติบ ) ของกระติบแล้วมัดเป็นปม

16. ใช้ค้อนตีตะปูตีไม้แหลม ๆ ที่ยื่นออกมาตรงส่วนตัวของกระติบ หรือใช้กรรไกรตัดออกเพื่อไม่ให้ติดขัดเวลาเปิด

17. ตรวจสอบความเรียบร้อยของกระติบข้าวก่อนนำไปจำหน่ายหรือนำไปใช้

***หมายเหตุ วัสดุที่ใช้เย็บไม่จำเป็นต้องเป็นด้ายไนลอนเสมอไป อาจใช้เป็นเส้นหวายที่ผ่าและเหลาแล้ว หรือเส้นเอ็นเย็บก็ได้ ซึ่งจะมีความคงทนกว่าและจำหน่ายกระติบข้าวได้ราคาดีกว่า
***ข้อเสนอแนะ ไม้ไผ่ที่นำมาสานกระติบควรเป็นไม้ไผ่บ้านที่แก่จัด จะทำให้กระติบข้าวทนทานและไม่มีมอดมารบกวน หรืออาจจะนำกระติบข้าวไปรมควันก่อนเพื่อให้กระติบมีความคงทนยิ่งขึ้น



0 ความคิดเห็น:

Animated Social Gadget - Blogger And Wordpress Tips